สี

Inspiration

วิธีเลือกสีที่ใช่ เพิ่มความโดดเด่นให้กับแบรนด์ของคุณ

สีคือตัวแทนและภาพลักษณ์ของแบรนด์ ซึ่งสร้างผลกระทบอย่างมากในแง่ของจิตวิทยาและภาพจำ มาเรียนรู้การเลือกชุดสีให้กับแบรนด์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ใช่และถูกใจทุกคน!

การจัดวางองค์ประกอบ สี และแสงคือส่วนหนึ่งในการออกแบบและมีบทบาทต่อสมองในการประเมินความรู้สึก ทุกรายละเอียดมีอิทธิพลต่องานออกแบบ ศิลปะ และจินตนาการของเรา ขึ้นอยู่กับวิธีการสื่อสารออกไป

สีก็คือหนึ่งในบทบาทสำคัญของการประมวลผลในสมองของเรา ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่บริษัทและองค์กรต่าง ๆ ให้ความสำคัญอย่างมากในการเลือกชุดสีที่เหมาะสมกับตัวแบรนด์ให้มากที่สุด

ไม่ว่าคุณจะพึ่งสร้างแบรนด์หรือกำลังรีแบรนด์อยู่ ก็สามารถนำเทคนิคของเราไปใช้ได้เช่นกัน แต่ก่อนจะทำแบบนั้นคุณต้องทำความเข้าใจก่อนว่าคนที่เห็นสีเหล่านี้รู้สึกอย่างไร

การเลือกสีที่ใช่ให้กับแบรนด์ 

การเลือกสีที่ใช่ให้กับแบรนด์เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลต่อการรับรู้ของลูกค้าและภาพลักษณ์ของแบรนด์ในระยะยาว ซึ่งสีสามารถสร้างความรู้สึก กระตุ้นอารมณ์ และสื่อสารตัวตนของแบรนด์ได้โดยไม่ต้องใช้คำพูดมากมาย ดังนั้นเราควรเลือกสีอย่างมีกลยุทธ์ โดยสามารถพิจารณาจากแนวทางต่อไปนี้ 

  • เข้าใจตัวตนและคุณค่าของแบรนด์

เริ่มจากการระบุว่าแบรนด์ของคุณมีบุคลิกแบบไหน เช่น ทันสมัย หรือ คลาสสิก? เป็นมิตร หรือ ทางการ? หรูหรา หรือ เข้าถึงง่าย? ใช้นวัตกรรม หรือ แบบดั้งเดิม?

จากนั้นให้คุณเลือกสีที่สะท้อนคุณลักษณะนั้น เช่น แบรนด์ที่เน้นเทคโนโลยีและนวัตกรรม อาจเลือกสีฟ้าหรือเทา เพื่อสื่อถึงความมั่นใจ ความน่าเชื่อถือ และความล้ำสมัย เป็นต้น

  • เรียนรู้ความหมายของสีในทางจิตวิทยา

สีแต่ละสีมีอิทธิพลทางอารมณ์และมีความหมายที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงควรเลือกสีให้เหมาะกับแต่ละบริบท

  • สีแดง : พลังงาน, ความตื่นเต้น, ความเร่งด่วน
  • สีฟ้า : ความเชื่อมั่น, ความปลอดภัย, ความเย็น
  • สีเหลือง : ความร่าเริง, ความอบอุ่น, ความคิดสร้างสรรค์
  • สีเขียว : ความสดชื่น, ธรรมชาติ, ความสมดุล
  • สีดำ : หรูหรา, พรีเมียม, อำนาจ
  • สีขาว : ความบริสุทธิ์, ความเรียบง่าย
  • ศึกษากลุ่มเป้าหมาย

สีสามารถดึงดูดกลุ่มเป้าหมายบางกลุ่มได้มากกว่าอีกกลุ่ม โดยที่ เพศ, อายุ, และวัฒนธรรมมีผลต่อการรับรู้สี เช่น สีพาสเทลอาจเหมาะกับกลุ่มวัยรุ่นหรือแบรนด์ที่ต้องการสื่อความน่ารัก อ่อนโยน หรือสีเข้ม เช่น น้ำเงินกรมท่า อาจเหมาะกับกลุ่มลูกค้าธุรกิจหรือองค์กร

  • วิเคราะห์คู่แข่ง

ต้องมีการศึกษาว่าแบรนด์ในอุตสาหกรรมเดียวกันใช้สีอะไร โดยเราจะได้เลือกสีที่โดดเด่นและไม่ซ้ำ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ หรืออาจเลือกใช้เฉดสีที่แตกต่างเพื่อยังคงความคุ้นเคยแต่โดดเด่นกว่า

  • ทดลองใช้งานจริง

ทดสอบการใช้สีในโลโก้ เว็บไซต์ สื่อโฆษณา หรือแพ็คเกจจิ้ง และดูว่าสีที่เลือกยังคงให้ความรู้สึกที่ต้องการหรือไม่ และอย่าลืมตรวจสอบความชัดเจนของสีเมื่อตีพิมพ์หรือใช้งานบนหน้าจอที่ต่างกัน เพื่อให้ประสิทธิภาพของสีออกมาตรงตามที่ต้องการ

จิตวิทยาการเลือกใช้สีให้กับแบรนด์

คุณเลือกซื้อสินค้าจากสีตลอดเวลาโดยที่คุณไม่รู้ตัว สิ่งนี้มักเกิดขึ้นโดยสัญชาตญาณแต่จริง ๆ แล้ววิทยาศาสตร์เรียกสิ่งนี้ว่าทฤษฎีการใช้สี

ทฤษฎีสี Vs. จิตวิทยาสี

ทฤษฎีสีจะเป็นตัวอธิบายว่าสีต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร และมีลักษณะอย่างไรเมื่อนำไปรวมกับโทนสีต่าง ๆ และถูกพัฒนาจนกลายเป็นจิตวิทยาสี ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทและวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่

ทั้งสองสิ่งคือความรู้ที่แบรนด์จะต้องใช้ในการพัฒนาและเลือกชุดสีที่เหมาะสมในการทำการตลาดต่อไป

จิตวิทยาสีจะมุ่งเน้นไปที่สัญลักษณ์และความหมายของสีแต่ละประเภท รวมถึงผลกระทบของสีและการผสมผสานเหล่านั้นส่งผลกระทบต่อจิตใจมนุษย์อย่างไรได้บ้าง เป็นเครื่องมือที่นักการตลาดใช้ในการสร้างแบรนด์อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ละเฉดสีกระตุ้นความรู้สึกไม่เหมือนกัน เป็นการกำหนดอารมณ์ของผู้ชมให้แสดงออกต่อชิ้นงานนั้น ๆ อย่างตั้งใจ

สิ่งสำคัญก็คือคุณต้องเข้าใจมนุษย์ในแต่ละพื้นที่ว่าพวกเขามีอารมณ์ร่วมกับสีที่คุณจะใช้อย่างไร เพราะผลกระทบของจิตวิทยาสีไม่ใช่สากล ต่างคนต่างวัฒนธรรมมีความเข้าใจสีที่ไม่เหมือนกัน ทำให้คุณต้องศึกษาก่อนทำการตลาดอย่างสม่ำเสมอ

การเลือกใช้สีที่ถูกต้องนั้นหมายถึงมูลค่าของแบรนด์และจำนวนการซื้อขายสินค้าจะเพิ่มขึ้นด้วย

สีโทนอุ่น

สีโทนอุ่นอย่างเช่น สีแดง สีส้มและสีเหลือง สร้างความรู้สึกในสมองเราทันทีว่านี่คือสีที่อบอุ่น สดใสและมีชีวิตชีวา สีเหล่านี้สามารถสื่อสารได้มากมาย แต่ถ้าใช้ไม่เป็นก็อาจตีกันจนความหมายหายไปได้ เพราะสีโทนอุ่นส่วนใหญ่เป็นสีที่เด่นชัดจนเกินไป เป็นสีที่คอยช่วยยกระดับสีรอบข้างขึ้นมาให้โดดเด่น และไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากสีอื่น ๆ เท่าไหร่นัก

ควรใช้สีโทนอุ่นพอประมาณ โดยเน้นที่วัตถุหลักของแบรนด์ หรือจับคู่กับสีโทนเย็นเพื่อสร้างความสมดุล

สีโทนเย็น

ขั้วตรงข้ามของสีโทนอุ่น ที่มีความเย็นยะเยือกและให้ความสงบที่มากกว่า เช่น สีฟ้า สีเขียว และสีม่วง หรือแม้แต่สีชมพูที่เป็นได้ทั้งสีโทนอุ่นและโทนเย็น เข้ากันได้ดีกับแบรนด์ที่ต้องการสื่อสารเรื่องความเรียบง่าย

มาดูกันดีกว่าว่าชุดสีแบบใดที่เหมาะสมกับงานของคุณ

แดงสุดฤทธิ์พิชิตใจ

ชุดสี
ภาพโดย Kobby Dagansaisnapscarlos castillaNEGOVURA31Nuchylee, และ luca amedei

ทุกประเทศล้วนมีความรู้สึกต่อสีแดงที่ต่างกันในบางครั้ง แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันก็คือความรู้สึกสดชื่น กระตือรือร้น ทรงพลัง ความแข็งแรง และความว่องไว เป็นสีที่สั่งให้ผู้ชมต้องหยุดดูทันทีเพื่อครุ่นคิดกับบางสิ่ง

สิ่งที่น่าสนใจก็คือการเลือกใช้นี้เราจะเห็นบ่อยมากในงานออกแบบโลโก้ เช่น CNN, Coca Cola และ Pinterest ต่างใช้สีแดงในงานโลโก้ของบริษัท ซึ่งทั้งสามแบรนด์นี้สื่อสารไว้ประมาณว่า 

  • CNN ให้พลังแห่งการเรียนรู้
  • Coca-Cola ให้พลังแห่งความสนุกสนาน
  • Pinterest ให้พลังแห่งความสร้างสรรค์

แบรนด์เหล่านี้ล้วนถ่ายทอดอารมณ์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเสมอ เพื่อทำให้แบรนด์เป็นที่น่าจดจำ

สีส้มอบอุ่นสายตา

ชุดสี
ภาพโดย David CarilletBanana Republic imagesJoshua DavenportvvvitaGerardo Borbolla, และ Rapeepat Mantanarat

สีส้มเป็นอีกสีที่ให้ความสว่างและความสดใส มอบความสมดุลให้กับทุกชิ้นงานเหมือนกับสีแดง แต่มีความจืดกว่าเล็กน้อย จึงทำให้สีส้มไม่ดูดุดันจนเกินไป

เนื่องจากสีส้มมีชื่อมาจากผลไม้ ทำไมให้บ่อยครั้งที่ถูกใช้ในโลโก้เครื่องดื่ม เช่น Fanta และ Crush เพราะสีส้มให้ความรู้สึกสนุกสนานโดยธรรมชาติ

แต่ถึงอย่างนั้นเลือกสีส้มก็ยังถูกใช้ในโลโก้ Amazon ซึ่งเป็นสีดำและสีขาว ยกเว้นแต่ลูกศรที่เชื่อมต่อบริเวณตัว A ถึง Z ทำให้เกิดการดึงดูดสายตาที่ยอดเยี่ยมและอบอุ่น

สีเหลืองแสนสดใส

ชุดสี 1 1
ภาพโดย KamiraDuet PandGWonnakorn ThongjamKucher SerhiiNataliya Peregudova, และ Roberto Binetti.

ทุกสีล้วนมีความหมายที่ขัดแย้งกันเอง โดยเฉพาะสีเหลืองที่มีสีสว่างสดใสและเป็นเชิงบวกสูง สื่อสารถึงเรื่องความสุข แสงอาทิตย์ ฤดูร้อน และความสุข แต่ก็ยังคงสื่อสารในเรื่องเชิงลบได้ด้วย เช่น อาการป่วย ความขี้อิจฉา และความอันตราย

ซึ่งมีหลายองค์กรเลือกใช้สีเหลืองสื่อสารด้านดี ๆ ออกมา เช่น McDonals, Nikon และ National Geographic ถึงแม้แต่ละบริษัทจะค้าขายผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน แต่เป้าหมายที่เหมือนกันคือทำให้ผู้บริโภคมีความสุขในชีวิต

สีเขียวเฟรนลี่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม

ชุดสี 1 2
ภาพโดย Oliver HoffmannArie v.d. WoldeReinhold LeitnerB BrownAsier Villafranca, และ Johnny Lye

บางพื้นที่ “สีเขียว” สื่อสารได้ถึงความหมายว่า “ไป” โดยเฉพาะสัญญาณไฟจราจร แต่ในระดับสากลนั้นสีเขียวหมายถึงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความยั่งยืน

หลายองค์กรล้วนเลือกใช้สีเขียวในแบรนด์ตนเอง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรกรรม เช่น Whole Foods และ John Deere

สีน้ำเงินแสนสงบ

ชุดสี 1 3
ภาพโดย Johnny LyesolarsevenyurokNiyazzTomatito, และ PHOTOCREO Michal Bednarek

ถ้าคุณอยากได้สีที่เห็นแล้วรู้สึกสงบเงียบ ให้นึกถึงสีน้ำเงินที่ส่วนใหญ่จะนึกถึงมหาสมุทรและการทำสมาธิ ทำให้สีน้ำเงินเหมาะสมกับแบรนด์ที่ต้องการสื่อสารเรื่องสินค้าและบริการที่แสนเงียบสงบ ทำให้เราเห็นธนาคารและบริษัทให้บริการเรื่องการเงินหลายแห่งเลือกใช้สีน้ำเงินในงานออกแบบ

หากลูกค้าทำธุรกรรมเรื่องการเงิน อย่างน้อยสีที่ใช้ควรสื่อสารได้ว่าถ้าพวกเขาทำธุรกรรมกับเรา จะได้รับบริการที่เงียบสงบและไร้กังวล แม้ว่าธุรกรรมหลายอย่างจะตึงเครียดก็ตาม

สีม่วงสูงศักดิ์ 

ชุดสี 1 4
ภาพโดย emin kuliyevPopov Nikolayzhang kanMongProMaria Vonotna, และ Vasilev Evgenii

หากคุณต้องการทำให้งานมีกลิ่นอายของความหรูหราและสูงศักดิ์ การเลือกสีม่วงคือวิธีที่ดีในการบรรลุเป้าหมาย และยังสื่อถึงความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการอีกด้วย

แบรนด์ต่าง ๆ เช่น Yahoo และ Cadbury ใช้สีม่วงเป็นพื้นหลังสำหรับโลโก้บริษัท ทำให้ผู้บริโภคจดจำได้ทันที 

โดยที่ Yahoo สื่อสารถึงปัญญาและความรู้ ในส่วนของ Cadbury ผู้ก่อตั้งเคยถวายผลิตภัณฑ์ของตนให้กับสมเด็จพระราชินีวิกตอเรียแห่งประเทศอังกฤษ จึงทำให้แบรนด์มีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความหรูหรา

สีขาว-ดำสุดล้ำลึก

ชุดสี 1 5
ภาพโดย Unique Visiondimitris_kkaravaiJumnian PeltMikhail hoboton Popov, และ PhilipYb Studio

บ่อยครั้งที่สีขาว-ดำ ถูกใช้คู่กัน เพราะสีดำให้ความรู้สึกลึกลับและสีขาวให้ความรู้สึกสะอาดบริสุทธิ์ เมื่อนำมาผสมกันทำให้เกิดความรู้สึกสมดุล

Cartoon Network ใช้สีดำและสีขาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการสร้างโลโก้ที่มีสมดุลที่ดี คล้ายกับยินหยางที่สื่อสารถึงแบรนด์ได้เป็นอย่างดี

ในเรื่องของอารมณ์และความหมายเบื้องหลัง สีทุกอย่างบนโลกสามารถสื่อสารและสร้างสิ่งมหัศจรรย์ให้เกิดขึ้นได้มากมาย และบ่อยครั้งที่เราเห็นว่าสีที่เรียบง่ายจะสร้างผลกระทบได้ดีกว่าสีที่ฉูดฉาดเยอะเกินไป ถ้าถูกใช้อย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้แบรนด์ได้รับการจดจำได้เป็นอย่างดี

อย่าลืม “Simple is the key” หรือความเรียบง่ายคือสิ่งสำคัญ (ไม่มีใครสามารถจำโลโก้ที่อัดแน่นไปด้วยสีและความซับซ้อนได้) ถ้าให้ดีเลือกชุดสีแค่ 1-2 สีก็เพียงพอแล้ว

สีไหนเหมาะกับอุตสาหกรรมอะไร 

วันนี้จะมาแนะแนวทางการเลือกสีที่เหมาะกับอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยอิงจากหลักจิตวิทยาสีและการใช้งานจริงของแบรนด์ชั้นนำในแต่ละอุตสาหกรรม 

  1. สุขภาพ / การแพทย์ / เภสัชกรรม

สีที่เหมาะ : 

  • สีฟ้า : ความน่าเชื่อถือ ความสะอาด ความสงบ
  • สีเขียว : สุขภาพ ความเป็นธรรมชาติ การฟื้นฟู
  • สีขาว : ความบริสุทธิ์ ความสะอาด ความโปร่งใส

ตัวอย่างแบรนด์ : Johnson & Johnson, Pfizer, CVS

  1. อาหาร / เครื่องดื่ม

สีที่เหมาะ :

  • สีแดง : กระตุ้นความอยากอาหาร พลังงาน
  • สีเหลือง / สีส้ม : ความร่าเริง ความเป็นมิตร ดึงดูดสายตา
  • สีเขียว :  สื่อถึงความสด สารอินทรีย์ หรือสุขภาพดี

ตัวอย่างแบรนด์ : McDonald’s, KFC, Subway

  1. แฟชั่น / ความงาม / เครื่องสำอาง

สีที่เหมาะ :

  • สีดำ : หรูหรา ทันสมัย มีสไตล์
  • สีชมพู : อ่อนโยน โรแมนติก (โดยเฉพาะในความงามสำหรับผู้หญิง)
  • สีทอง / สีเงิน : ความพรีเมียม ความพิเศษ

ตัวอย่างแบรนด์ : Chanel, Sephora, Victoria’s Secret

  1. เทคโนโลยี / ซอฟต์แวร์ / สตาร์ทอัพ

สีที่เหมาะ :

  • สีฟ้า : ความน่าเชื่อถือ ความมั่นใจ เทคโนโลยี
  • สีเทา / สีเงิน : ความทันสมัย ความไฮเทค
  • สีเขียวสะท้อน / สีม่วง / สีน้ำเงินเข้ม : เพื่อแสดงถึงนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์

ตัวอย่างแบรนด์ : Facebook, Dell, Intel, Slack

  1. การเงิน / ธนาคาร / ประกัน

สีที่เหมาะ :

  • สีน้ำเงินเข้ม / สีฟ้า : ความมั่นคง ความน่าเชื่อถือ
  • สีเขียว : การเจริญเติบโต ความมั่งคั่ง
  • สีเทา : ความเป็นมืออาชีพ

ตัวอย่างแบรนด์ : VISA, American Express, SCB

  1. เกษตร / สิ่งแวดล้อม / พลังงานทางเลือก

สีที่เหมาะ :

สีเขียว : ธรรมชาติ ความยั่งยืน

สีน้ำตาล / สีเบจ : ธรรมชาติ ความอบอุ่น

สีฟ้าอ่อน : ความบริสุทธิ์ อากาศ น้ำ

ตัวอย่างแบรนด์ : Whole Foods, Greenpeace

  1. การท่องเที่ยว / โรงแรม / การบริการ

สีที่เหมาะ :

สีฟ้า : การเดินทาง ความอิสระ ความสงบ

สีทอง / สีส้ม : การต้อนรับ ความหรูหรา

สีเขียว / สีเทอร์ควอยซ์ : ความสดชื่น ผ่อนคลาย

ตัวอย่างแบรนด์: Hilton, Expedia, Emirate

แนะนำเว็บไซต์จับคู่สี ใช้งานง่าย ช่วยให้งานคุณดูสวย โดดเด่นกว่าเดิม

แนำนะเว็บไซต์จับคู่สี (Color Palette Generators) ที่ใช้งานง่าย เหมาะทั้งสำหรับมือใหม่และนักออกแบบมืออาชีพ ช่วยให้คุณเลือกสีได้อย่างสวยงามและมีหลักการ

  1. Coolors.co

สามารถสร้างพาเลตต์สีแบบสุ่มได้รวดเร็ว โดยเลือกล็อกสีที่ชอบ แล้วให้ระบบแนะนำสีอื่นที่เข้ากัน

Coolors.co รองรับโหมดตาบอดสี และแสดงค่า Hex/RGB แถมยังมีแอปบนมือถือและสามารถนำเข้าภาพเพื่อสร้างพาเลตต์จากภาพได้

  1. Adobe Color

มีวงล้อสีให้เลือกตามโหมดต่างๆ เช่น Analogous, Complementary, Triadic ฯลฯ นำภาพอัปโหลดมาแยกสีออกเป็นพาเลตต์ มีฟีเจอร์ตรวจสอบความสามารถในการอ่าน (Contrast Checker) เหมาะกับคนที่ต้องการควบคุมทฤษฎีสีแบบมืออาชีพ

  1. Khroma

ใช้ AI เรียนรู้จาก “สีที่คุณชอบ” แล้วสร้างชุดสีที่เหมาะกับรสนิยมเฉพาะของคุณ

แสดงพาเลตต์ในตัวอย่างที่ใช้งานจริง เช่น เว็บไซต์, ตัวอักษร, UI

  1. Color Hunt

เป็นแหล่งรวมพาเลตต์สีสวย ๆ ที่คัดเลือกมาแล้ว โดยจัดตามหมวดหมู่ เช่น Pastel, Vintage, Modern เป็นเว็บที่ใช้ง่ายมาก เพียงคลิกเพื่อคัดลอกโค้ดสี

  1. Canva Color Palette Generator

ใช้การสร้างพาเลตต์จากภาพถ่ายง่าย ๆ แค่ลากภาพเข้าไป ซึ่งใช้งานฟรี ไม่ต้องสมัครก็ได้ เหมาะสำหรับหา mood & tone ที่ตรงกับภาพหรือแบรนด์ของคุณ

สรุป

การเลือกสีให้แบรนด์ไม่ใช่แค่เรื่องของ “ความสวยงาม” เท่านั้น แต่คือการสื่อสารความรู้สึก ตัวตน และคุณค่าของแบรนด์ในระดับจิตวิทยาอย่างลึกซึ้ง เพราะสีมีพลังในการดึงดูด สร้างความจดจำ และกระตุ้นอารมณ์ของผู้บริโภคได้อย่างไม่น่าเชื่อ

สิ่งสำคัญคือการเลือกสีที่ สอดคล้องกับบุคลิกของแบรนด์ และ ตรงกับอุตสาหกรรมที่คุณอยู่ เช่น สีฟ้าให้ความรู้สึกน่าเชื่อถือ เหมาะกับธุรกิจการเงินหรือเทคโนโลยี สีเขียวเชื่อมโยงกับธรรมชาติและสุขภาพ ส่วนสีแดงกระตุ้นความรู้สึกอยากอาหารและพลัง เหมาะกับธุรกิจอาหารหรือแบรนด์ที่ต้องการสร้างความโดดเด่น

นอกจากความหมายของสีแล้ว การเข้าใจกลุ่มเป้าหมายและศึกษาคู่แข่งก็สำคัญไม่แพ้กัน สีที่ดีควรช่วยให้แบรนด์ของคุณ “แตกต่างอย่างลงตัว” ในตลาด และสามารถใช้งานได้ดีทั้งบนโลกออนไลน์และออฟไลน์
เพียงแค่เลือกสีอย่างมีกลยุทธ์ สีจะไม่ใช่แค่ “องค์ประกอบตกแต่ง” อีกต่อไป แต่มันจะกลายเป็นพลังที่ขับเคลื่อนแบรนด์ของคุณให้ “สื่อสารได้โดยไม่ต้องพูด”

บทความโดย : Brand Colors: The How and Why of Picking the Right Colors

เรียบเรียงโดย : ทีมงานชัตเตอร์สต็อกประเทศไทย ดำเนินงานโดย นัมเบอร์ 24

Date: 10/06/2567

Related Blog

 
Stock photo 11

เติมสีสันให้กับเดือน Pride Month ด้วย 10 สี Neon จาก stock photo

 
 
กราฟิก 10

กราฟิกและช่างภาพต้องมี คู่มือการใช้สีในภาพถ่าย​ (ฉบับสมบูรณ์)

 
 
ปกชุดสี

แจกชุดสี 20 พาเลท สำหรับงานออกแบบ เปลี่ยนงานของคุณให้โดดเด่น (พร้อมตัวอย่างชุดสี)

 
 
rgb vs cmyk ปก

RGB vs. CMYK ใช้สีแบบไหนดีในงานของคุณ?

 

Tell us about yourself





    Type: