ถ้าคุณเป็นคนทำงานครีเอทีฟ ไม่ว่าจะเป็นนักวาด นักออกแบบ ช่างภาพ ครีเอทีฟโฆษณา หรือใครก็ตามที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน ตอนนี้คุณอาจกำลังรู้สึกว่าโลกเปลี่ยนเร็วขึ้นมาก โดยเฉพาะเมื่อ AI เข้ามามีบทบาทแทบทุกขั้นตอน
คำถามสำคัญคือ AI ที่ฉลาดขึ้นทุกวันนั้นเรียนรู้จากผลงานของใคร? หรือพูดให้ชัดกว่านั้นคือ AI เหล่านี้ “ฝึก” ตัวเองจากผลงานของใครกันแน่? และถ้าผลงานนั้นเป็นของคุณ คุณจะได้รับสิทธิอะไรบ้าง?
รายงาน AI & Creativity Report 2025 จาก D&AD ร่วมกับ Shutterstock และพันธมิตรอีกหลายเจ้าทั่วโลก ได้ลงลึกในประเด็นนี้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะเรื่องการใช้ผลงานของครีเอเตอร์ในการ ฝึก AI ทั้งด้านการมองเห็น (Computer Vision) และการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ (Generative AI) และนี่คือ 7 ประเด็นสำคัญที่คนทำงานครีเอทีฟทุกคนควรรู้
1.การฝึก AI กำลังเรียนรู้จาก “ผลงานของคุณ” โดยไม่ขออนุญาต

มากกว่า 91% ของผู้ร่วมวิจัยจาก 55 ประเทศ แสดงความกังวลอย่างมากเรื่องจริยธรรมของ AI โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า โมเดล AI ต่าง ๆ ถูก ฝึก AI ด้วยภาพ เสียง ข้อความ หรือสไตล์ของศิลปินและครีเอเตอร์ที่ไม่ได้รับโอกาสหรือสิทธิ์ในการปกป้องผลงานของตัวเองเลย นั่นหมายความว่า AI อาจใช้ผลงานของคุณโดยที่คุณไม่รู้ตัว และไม่มีการชดเชยหรือยินยอมอย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นเรื่องที่คนทำงานสายสร้างสรรค์ไม่ควรมองข้าม
2. ใครเป็นเจ้าของผลงานที่สร้างด้วย AI?

ทุกวันนี้มีคำถามที่เริ่มถูกพูดถึงมากขึ้นในวงการครีเอทีฟ ว่า “ถ้าแคมเปญโฆษณาที่ประสบความสำเร็จ ใช้ AI สร้างงานไปแล้วกว่า 80% ใครควรได้เครดิต?”
เรื่องนี้ไม่ใช่เล่น ๆ เพราะหลายครั้งงานที่สร้างด้วย AI อาจเกิดจาก prompt ที่ไม่มีความเฉพาะเจาะจง หรือใช้สไตล์ของศิลปินหลายคนมาผสมกัน โดยไม่ได้บอกเลยว่าได้แรงบันดาลใจมาจากใคร
ยิ่งไปกว่านั้น โมเดลที่ใช้ ฝึก AI ก็เรียนรู้จากผลงานของศิลปินจริง ๆ ทั้งภาพ เสียง หรือแม้แต่สไตล์การออกแบบ โดยที่เจ้าของผลงานไม่เคยรู้ หรือไม่เคยยินยอมให้เอาไปใช้
ทั้งหมดนี้เลยทำให้เกิดคำถามว่า “ใครเป็นเจ้าของตัวจริงของผลงานที่สร้างจาก AI” กลายเป็นประเด็นที่ยังไม่มีคำตอบชัดเจน และอาจเปลี่ยนวิธีคิดเรื่องลิขสิทธิ์ในอนาคตไปเลย
3. AI ต้องไม่ลำเอียง และเคารพความหลากหลาย

เวลานำ AI มาใช้สร้างคอนเทนต์ ไม่ว่าจะเป็นภาพ ตัวละคร หรือเนื้อหาถ้า AI ถูก ฝึก ด้วยข้อมูลที่ซ้ำ ๆ เดิม ๆ หรือมาจากมุมมองแคบ ๆ ของคนกลุ่มเดียว มันก็อาจจะมีอคติเกิดขึ้นแบบไม่รู้ตัว
เช่น
- แสดงภาพผู้หญิงเป็นพยาบาล ผู้ชายเป็นนักธุรกิจอยู่ตลอดเวลา
- หรือนำเสนอคนบางเชื้อชาติในภาพลักษณ์แบบเดิม ๆ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง
ถ้าอยากให้ AI สร้างงานที่หลากหลายและเป็นธรรม การ ฝึก AI ต้องระวังเรื่องพวกนี้ให้มาก โดยควรใช้วิธีดังนี้
- ใช้ข้อมูลที่มีความหลากหลาย ทั้งในแง่เชื้อชาติ เพศ อายุ และวัฒนธรรม
- หลีกเลี่ยงการทำซ้ำอคติหรือเหมารวม (stereotype) ที่สังคมเคยมีมาก่อน
พูดง่าย ๆ คือ ถ้าเราอยากให้ AI มองโลกอย่างเข้าใจและให้เกียรติทุกคน เราก็ต้องเริ่มจากการสอนมันให้ดีตั้งแต่ต้นนั่นแหละ
4. ลูกค้าเริ่มคิดว่า AI ทำแทนคนได้แล้ว

ตอนนี้หลายเอเจนซี่เริ่มเจอสถานการณ์คล้ายกันก็คือ ลูกค้าต่อราคาเพราะคิดว่า “ในเมื่อใช้ AI ช่วยได้ ทำไมยังต้องจ่ายเท่าเดิม?”
มุมมองแบบนี้กำลังเป็นความเสี่ยงใหญ่สำหรับคนทำงานครีเอทีฟ เพราะถ้าเราไม่สามารถอธิบายให้ลูกค้าเห็นว่า “ความคิดสร้างสรรค์” มันมีคุณค่าเกินกว่าที่ AI จะลอกเลียนได้ งานของเราก็จะถูกมองว่าแทนที่ได้ง่าย ๆ และสุดท้ายราคาก็จะถูกลงเรื่อย ๆ
ยิ่งตอนนี้หลายบริษัทใช้ผลงานเก่า ๆ ไป ฝึก AI แล้วสร้างงานใหม่แบบไม่ต้องจ้างทีมสร้างสรรค์ นี่เลยยิ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมเราต้องยืนหยัด และสื่อสารให้ชัดว่าความคิดของคนยังสำคัญอยู่เสมอ
5. ตอนนี้โลกยังไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจน

ในยุคที่ AI เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของงานสร้างสรรค์ คำถามสำคัญหลายข้อยังไม่มีคำตอบแน่ชัด เช่น
- ใครควรได้รับเครดิตจากงานที่ใช้ AI สร้าง?
- ต้องบอกไหมว่าใช้ AI ช่วยทำ?
- แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าเครื่องมือที่ใช้อยู่ ปลอดภัยเรื่องลิขสิทธิ์?
ตอนนี้ยังไม่มีมาตรฐานสากลที่เป็นรูปธรรม ทำให้หลายคนเริ่มกังวลว่าอนาคตจะจัดการกับเรื่องสิทธิ ความเป็นเจ้าของ และความโปร่งใสยังไงดี
รายงาน AI & Creativity 2025 แนะนำว่าทางออกที่ดีตอนนี้คือการทำ “Creative Contract” หรือข้อตกลงร่วมกัน ระหว่างทีมครีเอทีฟกับลูกค้า เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกันตั้งแต่ต้น เช่น
- แจ้งให้ชัดว่าชิ้นไหนหรือส่วนไหนในงานที่ใช้ AI
- ให้เครดิตกับคนสร้างผลงาน ไม่ใช่ให้เครดิตแค่ AI model
- เลือกใช้เครื่องมือที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง เช่น Shutterstock หรือแพลตฟอร์มที่ให้ความสำคัญกับสิทธิของศิลปิน
ทั้งหมดนี้ไม่ได้แค่เพื่อความปลอดภัยทางกฎหมาย แต่ยังช่วยรักษาคุณค่าและความเป็นมืออาชีพของคนทำงานสร้างสรรค์ด้วย
6. ความคิดสร้างสรรค์ที่แท้จริง ยังเป็นของมนุษย์

AI อาจช่วยเราทำงานได้เร็วขึ้น แต่ยังไม่เข้าใจ “ความเป็นมนุษย์” อย่างแท้จริง มันไม่รู้จักรสนิยมแบบไทย ๆ ไม่เข้าใจวัฒนธรรมแต่ละที่ หรือแม้แต่ความรู้สึกเล็ก ๆ ที่แฝงอยู่ในงานสร้างสรรค์
ทั้งหมดนี้ยังต้องใช้ “หัวใจของคน” อยู่เสมอ นี่คือสิ่งที่เราต้องรักษาไว้ ไม่ใช่ปล่อยให้ของที่ดูเหมือนจะเก่ง แต่ไม่มีหัวใจ มาทำให้คนเข้าใจผิดว่านั่นคือ “ความคิดสร้างสรรค์”
7. ถึงเวลา “เขียนกติกาใหม่” เพื่อปกป้องงานของเรา

เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาเร็วกว่า “กติกา” ที่มีอยู่ในตอนนี้ คนทำงานสร้างสรรค์จึงตกอยู่ในสถานะที่เปราะบางกว่าที่เคย หลายคนไม่รู้ว่าผลงานของตัวเองถูกนำไปใช้ ฝึก AI ตั้งแต่เมื่อไร ใครเป็นคนเอาไปใช้ และถูกใช้ในรูปแบบไหนบ้าง ในขณะที่เจ้าของผลงานตัวจริงกลับไม่ได้มีโอกาสปกป้องสิทธิของตัวเองเลย
ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องลุกขึ้นมาปกป้องผลงานของตัวเอง ไม่ใช่ด้วยการต่อต้านเทคโนโลยี แต่ด้วยการ “ร่วมกันเขียนกติกาใหม่” ให้โลกนี้มีระบบที่ชัดเจน โปร่งใส และยุติธรรมสำหรับทุกฝ่าย
ระบบที่บอกให้รู้ว่า
- ผลงานไหนใช้ AI หรือมนุษย์ทำ
- ใครเป็นเจ้าของเครดิต
- ใครมีสิทธิ์ในการใช้งาน
- และการฝึก AI ต้องขออนุญาตจากใครบ้าง
เราต้องช่วยกันผลักดันให้วงการสร้างสรรค์ยังคงมีพื้นที่ที่ให้คุณค่าแก่ “คน” ไม่ใช่แค่ปล่อยให้เทคโนโลยีเข้ามากำหนดทุกอย่าง โดยไม่มีขอบเขตหรือความรับผิดชอบ
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นทันที แต่อย่างน้อยที่สุด เราต้องเริ่มเพื่อให้คนรุ่นต่อไปยังมีพื้นที่ปลอดภัยในการสร้างสรรค์ และยังมีอาชีพนี้ให้ภาคภูมิใจ
ถ้าอยากใช้ AI ที่ถูกลิขสิทธิ์ Shutterstock AI ช่วยคุณได้ ติดต่อ Number 24 แล้วเริ่มสร้างสรรค์งานด้วยเทคโนโลยีที่เคารพสิทธิของครีเอเตอร์อย่างแท้จริงที่
Inbox : http://m.me/number24.co.th
LINE Official Account : https://line.me/R/ti/p/@klj9484n
Instagram : https://www.instagram.com/number24.co.th
Website : https://number24.co.th/